โปรแกรมบัญชี
HOMEโปรแกรมบัญชีCONTACT USโปรแกรมบัญชีPRODUCTSโปรแกรมบัญชีDOWNLOADโปรแกรมบัญชีNEWSโปรแกรมบัญชีPROFILEโปรแกรมบัญชีPARTNERโปรแกรมบัญชีSUCCESS STORYโปรแกรมบัญชีJoin Usโปรแกรมบัญชี
โปรแกรมบัญชี
ERP
 
Thai English

โปรแกรมบัญชี    
ติดต่อเรา
ค่าแนะนำลูกค้า
ราคาขายแต่ละผลิตภัณฑ์
ลูกค้าแยกตามประเภทธุรกิจ
Success Story
PRODUCT
INDUSTRY
DEMO
TRAINING
SUPPORT SERVICE
สนใจผลิตภัณฑ์ และบริการ
 

โปรแกรมบัญชี
BIZ VISION
 
   
  อนาคตอุตสาหกรรมไทยภายใต้เงา  
  FTA  
     
 
ในปัจจุบันคงไม่มีใครที่จะปฎิเสธได้ว่า เศรษฐกิจการค้าของโลกกำลังเดินหน้าเข้าไปสู่ระบบการค้าเสรีมากขึ้นเรื่อยๆ และอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าการเจรจาการค้าในกรอบเวทีขององค์การค้าระหว่างประเทศ (WTO) จะไม่มีแนวโน้มของความคืบหน้า และไม่ส่อแววของความสำเร็จแต่ประการใดในระยะเวลาอันใกล้นี้ก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างของสภาพทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ต่างกันมากในมวลหมู่สมาชิก ส่งผลทำให้ความสนใจ ผลประโยชน์ และความต้องการทางการค้าของประเทศต่างๆ แตกต่างกันมากจนยากและแทบจะไม่มีทางเป็นไปได้ ที่จะสร้างกรอบและกติกาความตกลงที่สามารถก่อให้เกิดเงื่อนไขที่ได้ประโยชน์ทุกประเทศ (win-win) ได้ หรืออย่างน้อยในเวลาอันใกล้นี้
 
 
เหตุผลทางเศรษฐกิจที่สำคัญก็คือ ก็เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบกับสินค้าของตนเอง เหนือประเทศคู่แข่งในตลาดประเทศที่ตนเองทำความตกลงด้วย เพราะสินค้าของตนเองจะเข้าตลาด ได้มากขึ้นเนื่องจากไม่ต้องหรือเสียภาษีศุลกากรน้อยกว่าและสะดวกกว่า รวมทั้ง การเข้าสู่ตลาดก่อน คู่แข่งถือว่ามีความได้เปรียบในระดับแรก เนื่องสามารถเป็นที่รู้จักและสร้างฐานลูกค้าและเครือข่าย การค้าไว้แล้ว ผู้มาใหม่ ต้องออกแรงและลงทุนมากกว่าปกติเพื่อจะเข้ามาแข่งทีหลัง
ดังนั้นหลายประเทศจึงต้องเร่งทำความตกลงกับประเทศต่างๆ ให้มากและเร็วที่สุดที่จะทำได้ โดยเฉพาะ ประเทศที่จะเป็นหรือมีศักยภาพที่จะเป็นตลาดสินค้าที่สำคัญของตนเอง และยิ่งประเทศต่างๆ เข้าสู่การ เจรจาการค้าเสรีมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ความจำเป็นของประเทศ ต้องมีความตกลงการค้าเสรีกับ ประเทศอื่นๆ มากขึ้นเท่านั้น เพื่อให้ไม่เสียเปรียบในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งในตลาดที่สำคัญ
 
 
ความก้าวหน้าและการขยายขอบเขตความตกลงของ FTA ในปัจจุบันมีการพัฒนาออกไปไกลกว่า เฉพาะการสร้างความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันเท่านั้น แต่จะครอบคลุมประเด็นที่สำคัญที่คู่เจรจาทุกฝ่ายพอใจ ตั้งแต่การลงทุน การบริการ และการพัฒนาด้านต่างๆ ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจคู่สัญญาจะสามารถได้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวได้อย่างเต็มที ซึ่งมักจะเรียกกันว่า ความร่วมมือใกล้ชิดทางเศรษฐกิจหรือ พันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Close Economic Partnership หรือ CEP) เพราะฉะนั้น ประเด็นต่างๆ ทั้งหมดจะมีการผูกโยงเข้าหากันในกระบวนการต่อรอง และจะมีการแลกเปลี่ยนกันข้ามสาขาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของแต่ละฝ่าย
 
  โอกาสที่ต้องสร้าง  
จากที่กล่าวข้างต้นทั้งหมดนั้น เป็นเพียงสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ในระยะสั้นในกระบวนวิวัฒนการของโลกที่ก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่ไร้พรมแดน มากขึ้น และประเทศไทยก็คงไม่อาจจะสามารถฝืนกระแสโลกได้ เหลือเพียงแต่ว่าภาคอุตสาหกรรมไทยจะวางแนวทางเพื่อให้ตัวเองมีความ พร้อมและสามารถทำให้ตนเองดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันที่รุนแรงได้อย่างเต็มที่
แนวทางการปรับตัวที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทยเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากสภาพดังกล่าวได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากที่สุด คือ
1. พัฒนาคุณภาพสินค้าเข้าสู่มาตรฐานสากลให้เร็วที่สุด เพราะผลของการเจรจาการค้าเสรีมาตรการที่จะเป็นด่านที่สำคัญท ี่ อุตสาหกรรมไทย จะฝ่าเข้าไปในตลาดประเทศคู่ค้าที่เหลืออยู่จะเป็นมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร เช่น มาตรฐานสินค้า และเงื่อนไขด้านมนุษยธรรม ฯลฯ ดังนั้น FTA จะต้องช่วยสร้างโอกาสเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาเพื่อยก ระดับการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานที่คู่ค้าต้องการจะเป็น โอกาสที่ทำให้อุตสาหกรรมไทยเร่งการพัฒนาคุณภาพเข้าสู่ มาตรฐานสากลสำหรับประเทศอื่นๆ
2. สร้างความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้า เพื่อลดความสามารถในการทดแทนของสินค้าอื่นๆ การสร้างเอกสักษณ์อาจจะมา จากทั้งภาพลักษณ์ของ สินค้าในความรู้สึกของผู้บริโภค (consumer’s perception) ซึ่งหมายรวมถึงการสร้างแบรด์ หรือ การพัฒนา นวัตกรรม และการสร้างสรรที่ทำให้ สินค้าแตกต่างจากสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่มีภาษีศุลกากร
3. ใช้ FTA สร้างโอกาสในการพัฒนาประสิทธิภาพ ภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมไทยในตลาดโลก และสร้างความสามารถในการแข่งขัน จากจุดเด่นของประเทศคู่เจรจา โดยอาศัยการเรียนรู้ผ่านการสร้างเครือข่ายพันธมิตร
4. การใช้ประเทศคู่เจรจาเพื่อเป็นประตูระบายสินค้าสู่ประเทศอื่นๆ ที่ประเทศคู่เจรจาเป็นสมาชิกกลุ่มการค้าประเทศจะต้องเร่งสร้างศักยภาพ ของนักลงทุนในต่างประเทศ การสร้างผู้ค้าระหว่างประเทศ หรือเครือข่ายการพัฒนาร่วมกันในประเทศคู่เจรจาเพราะไม่เช่นนั้นแล้วสินค้าไทย จะไม่สามารถผ่านด้านกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าในกลุ่มเศรษฐกิจนั้นๆ ได้
5. การเตรียมสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและเงื่อนไขทางธุรกิจที่เอื้อต่อการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโครงสร้างภาษีต่างๆ ภายในของประเทศที่ไม่ส่งผลทำให้ภาระภาษีที่เกิดกับผู้ผลิตภายในประเทศสูงกว่าสินค้านำเข้า ในปัจจุบันกระทรวงการคลังได้กำหนดกรอบ โครงสร้างภาษีศุลกากร 1, 5, 10 เปอร์เซ็นต์ สำหรับสินค้าที่เป็นปัจจัยการผลิต สินค้าขั้นกลาง และสินค้าสำเร็จรูปตาม
6. พัฒนาการผลิตให้ครอบคลุมกระบวนการผลิตให้มากที่สุด รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศให้มากขึ้น เพื่อให้อุตสาหกรรมไทย สามารถขจัดปัญหาและเงื่อนไขของกฏว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าใน FTA ที่นับวันจะเป็นเงื่อนไขที่รุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน รวมทั้ง การใช้ประโยชน์จาก FTA ที่ประเทศทำกับประเทศต่างๆ หลายฉบับให้มากที่สุด
โลกที่ก้าวไปสู่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจใหม่เป็น การท้าทายศักยภาพและความสามารถ ของผู้เกี่ยวข้องของภาคอุตสาหกรรมไทยทุกส่วนทั้งในภาครัฐและเอกชน ประตูแห่งโอกาส ที่เปิดพร้อมกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา รวดเร็ว และในทุกย่างก้าวธุรกิจ ทำให้ การวางยุทธศาสตร์ในการปรับเปลี่ยน และการสร้างความพร้อมให้กับภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อให้สามารถได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรี การค้าจำต้องเป็นไปอย่างชาญฉลาดและ ทันการณ์ การอาศัยความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบที่ชัดเจน การวางกลยุทธ์ที่เป็น Globally Strategy ที่อาศัยจุดเด่นและความเก่งกาจของผู้อื่นมาเสริมความสามารถในการ แข่งขันให้กับตนเอง รวมทั้งการวางสภาพแวดล้อม และเงื่อนไขต่างๆ ที่เอื้อต่อธุรกิจของ ผู้ประกอบการไทยอย่างมีวิสัยทัศน์ของภาครัฐ ที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถใช้ ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ตัดตอนจาก : บทวิเคราะห์อนาคตอุตสาหกรรมไทยภายใต้เงาเอฟทีเอ กองเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)
 
 

โปรแกรมบัญชี
  NEWS & EVENT
โปรแกรมบัญชี News
โปรแกรมบัญชี Success Story
โปรแกรมบัญชี Biz vision
 
     
     
 
 
Contact : 662-732-1800 คุณดวงฤทัย 662-732-1900 คุณเปรมกมล
Email : MDK@CRYSTALFORMULA.CO.TH , MDM@CRYSTALSOFT.CO.TH
©2007 Crystal Formula Co., Ltd . All rights reserved.
 
| Contact Us | Products | Download | News & Events | Profile | Webboard | Partner | Join Us |
 
Software Yes
”สมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ไทย จัดโครงการ Buy Thai First หรือ “เชื่อไทย ซื้อไทย” โดยมอบตราสัญลักษณ์ Software Yes  เพื่อรณรงค์ให้คนไทยใช้ซอฟต์แวร์ไทยมากขึ้น โดยมอบให้ผู้ประกอบการซอฟท์แวร์ไทย ที่ผ่านการคัดเลือก”
Thai Quality
Software
IS015504
Thai Quality Soft
ATSI